มวลกล้ามเนื้อ คือ ยาอายุวัฒนะ | เนสท์เล่ เฮลท์ ไซเอนซ์

ค้นพบ มวลกล้ามเนื้อ นี่แหละ! คือ ยาอายุวัฒนะ ตัวจริง ที่มีผลงานวิจัยทางการแพทย์รองรับ


“ออกกำลังกาย จะแข็งแรง” เป็นสิ่งที่ทุกคนรู้กันดีอยู่แล้ว แต่เพิ่งจะไม่นานมานี้เอง ที่มีผลงานวิจัยหลายฉบับ บ่งชี้ไปในทางเดียวกันว่า ยิ่งคุณมีมวลกล้ามเนื้อ “สะสม” ไว้เยอะเท่าไหร่ คุณยิ่งมีโอกาสที่จะ อายุยืน แข็งแรง ถ้าป่วยก็จะหายเร็วกว่า และการกินโปรตีนต่อวันให้เพียงพอนี่แหละ ที่สำคัญมาก

เรามาดูกันว่า มวลกล้ามเนื้อ เป็นยาอายุวัฒนะและช่วยให้สุขภาพดีทั้ง 6 ด้านอย่างไร
และกินโปรตีนเท่าไหร่ อย่างไร ให้มีมวลกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น

6 เหลี่ยมสุขภาพ - มวลกล้ามเนื้อ


1. มวลกล้ามเนื้อ กับ การมีอายุยืนยาว

2. มวลกล้ามเนื้อ กับ การเคลื่อนไหว

3. มวลกล้ามเนื้อ กับ อัลไซเมอร์

4. มวลกล้ามเนื้อ กับ ภูมิคุ้มกัน และการรักษาแผล

5. มวลกล้ามเนื้อ กับ โรคเบาหวาน

6. มวลกล้ามเนื้อ กับ การรักษาในโรงพยาบาล




1. มวลกล้ามเนื้อ กับ การมีอายุยืนยาว


การศึกษากับประชากรประมาณ 3,659 คนในอเมริกา ที่อายุ 55-65 ปีขึ้นไป ติดตามผลนานกว่า 18 ปี ค้นพบว่า ผู้ที่มีมวลกล้ามเนื้อต่ำ มีอัตราการเสียชีวิตโดยรวมจากโรคต่างๆ 58% ในขณะที่ผู้ที่มีมวลกล้ามเนื้อสูง มีอัตราการเสียชีวิตเพียง 41%


2. มวลกล้ามเนื้อ กับ การเคลื่อนไหว


หลายคนพยายามกินแคลเซียม เพื่อดูแลกระดูก-ไขข้อ ในความเป็นจริงแล้ว การเคลื่อนไหวที่ดี ต้องใช้กล้ามเนื้อที่ยึดโยงกระดูกข้อต่อไว้ด้วยกัน

มีผลงานวิจัยพบว่า การกินโปรตีนต่อวันสูงเพียงพอ สัมพันธ์กับการมีมวลกระดูกหนาแน่นกว่า ลดการสลายมวลกระดูก ช่วยให้แข็งแรง การกินโปรตีนเพียงพอและสร้างมวลกล้ามเนื้อ จึงช่วยให้มีการเคลื่อนไหวที่ดี คล่องแคล่วกว่า ดูแลตัวเองได้เมื่อสูงวัย


3. มวลกล้ามเนื้อ กับ อัลไซเมอร์


แพทย์ศึกษากับผู้สูงวัย ในมหาวิทยาลัยทางการแพทย์ สหรัฐอเมริกา พบว่า การสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ ช่วยเร่งให้อาการอัลไซเมอร์เร็วขึ้น และยังพบความสัมพันธ์กับเนื้อสมองฝ่อ (วัดด้วยเครื่อง MRI)

ในทางกลับกัน แพทย์พบว่า การออกกำลังกายเพิ่มกล้ามเนื้อนี่แหละ ที่ช่วยให้การทำงานของสมองดีขึ้น โดยวิจัยกับผู้สูงวัยอายุ 55 ปีขึ้นไปที่เริ่มหลงๆลืมๆ พบว่า หากออกกำลังกาย 2-3 วัน/สัปดาห์ ครั้งละ 75 นาที ทำต่อเนื่อง 6 เดือน ปรากฎว่า คะแนนการรับรู้ทางสมองดีขึ้นถึง 2 เท่า (จากคะแนน 24 เพิ่มเป็น 48)


4. มวลกล้ามเนื้อ กับ ภูมิคุ้มกัน และการรักษาแผล


เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด ที่เป็นภูมิคุ้มกันและใช้รักษาแผลนั้น ต้องใช้โปรตีน คือกรดอะมิโนในการสร้างขึ้นมา หากมีมวลกล้ามเนื้อน้อย ร่างกายจะนำเอาโปรตีนที่กินแต่ละวัน ไปสร้างกล้ามเนื้อก่อน จึงทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำ และแผลหายช้าลง ผู้สูงวัยหลายคนจึงสังเกตุว่า ตัวเองแผลหายช้า และป่วยง่าย

ในทางกลับกัน หากกินโปรตีนให้เพียงพอ และมีมวลกล้ามเนื้อสูง ก็จะช่วยให้ร่างกายมีโปรตีนสะสมในร่างกายเอาไว้ใช้ได้อย่างเพียงพอ


5. มวลกล้ามเนื้อ กับ โรคเบาหวาน


มวลกล้ามเนื้อยิ่งสูง ร่างกายจะมีการเผาผลาญพลังงานสูงกว่า (เมตาบิลิซึมสูง) และส่งผลดีต่อการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน จึงมีการวิจัยพบว่า ผู้ที่มีมวลกล้ามเนื้อน้อย จะมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานสูงกว่า

จึงอาจกล่าวได้ว่า หากไม่อยากเป็นเบาหวาน หรือถ้าใครเป็นเบาหวานแล้วอยากควบคุมให้ดีขึ้น ก็ควรจะเพิ่มมวลกล้ามเนื้อให้มากขึ้น

นอกจากนี้ ยังพบว่า การกินเวย์โปรตีนก่อนอาหาร ช่วยกระตุ้นการหลั่งอินซูลินในผู้ที่เป็นเบาหวาน (type-2)ได้อีกด้วย จึงช่วยคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ต่ำกว่าไม่กินโปรตีนถึง 30%


6. มวลกล้ามเนื้อ กับ การรักษาในโรงพยาบาล


แพทย์พบว่า ผู้ที่เข้าโรงพยาบาลต้องได้รับการผ่าตัด หากได้รับโปรตีนสูง มีมวลกล้ามเนื้อสูง จะช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้ดี โอกาสติดเชื้อและเสียชีวิตน้อยกว่า แผลหายเร็ว ออกจากโรงพยาบาลเร็วขึ้น ทำให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาลดลงได้

ผลงานวิจัยใหม่ๆ จึงแนะนำให้ผู้ป่วยกินโปรตีนให้สูงทั้งก่อนและหลังการผ่าตัด และพยายามให้ลุกนั่ง ลุกเดินให้มาก แม้ขณะอยู่ในไอซียู ก็เริ่มมีการให้ออกกำลังกายเล็กๆน้อยๆเพื่อให้ฟื้นตัวได้เร็ว

มวลกล้ามเนื้อไม่เกี่ยวกับน้ำหนัก หรืออายุ จะอ้วนจะผอม จะอายุเท่าไหร่ ก็ควรดูแล


ไม่ใช่เฉพาะคนผอมกินน้อยเท่านั้น ที่มวลกล้ามเนื้อน้อย ...คนอ้วน กินเยอะ แต่ไม่ดูแล ทำให้มีมวลกล้ามเนื้อน้อย ก็สุขภาพไม่ดีได้เช่นกัน เราจึงควรดูแลไม่ว่าจะน้ำหนักเท่าไหร่ อายุเท่าไหร่ก็ตาม ...จะ 40 -50 ก็ควรสะสมแต่เนิ่นๆ หรือใคร 60-70 แล้ว ก็สามารถดูแลกล้ามเนื้อได้เช่นกัน ทำช้าก็ยังดีกว่าไม่ทำเลย


คำแนะนำ ในการดูแลให้มีมวลกล้ามเนื้อมากขึ้น


1. ต้องกินโปรตีนให้เพียงพอในทุกๆวัน


ผลงานวิจัยติดตามผู้สูงวัยกว่า 2,000 คน นาน 3 ปี พบว่า คนที่กินโปรตีนให้เพียงพอต่อวัน ช่วยให้มีมวลกล้ามเนื้อสูงกว่าคนที่กินไม่เพียงพอ ดังนั้นจุดเริ่มต้นคือ ต้องกินโปรตีนให้เพียงพอทุกๆวัน นี่คือเหตุผลที่อาหารเสริมทั่วไป หรือซุปไก่ รังนก ที่โปรตีนน้อย อาจจะไม่ช่วยดูแลสุขภาพระยะยาวเรื่องมวลกล้ามเนื้อ

ปัญหาของผู้สูงอายุคือ มักกินโปรตีนน้อยลง บวกกับร่างกายดูดซึมได้น้อยลง แพทย์จึงแนะนำให้ผู้สูงอายุกินโปรตีนให้ได้ประมาณ 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม

เช่น น้ำหนัก 60 กิโลกรัม ควรกินโปรตีนวันละ 60 กรัม
แบ่งกิน 3 มื้อเท่าๆกัน จึงควรกินมื้อละประมาณ 20 กรัม

แต่อย่าเข้าใจผิดนะคะ ...เนื้อสัตว์,หมู,ปลา,ไก่ 1 ขีด (100กรัม) ให้โปรตีนเพียงประมาณ 18-22 กรัมเท่านั้น (ที่เหลือเป็นไขมัน น้ำ และอื่นๆ)

การกินจากเนื้อสัตว์มื้อละ 1 ขีด อาจเป็นเรื่องยากในผู้สูงวัยบางท่าน ที่สำคัญจะมีไขมัน คลอเลสเตอรอลเป็นของแถม นักโภชนาการจึงพัฒนา “อาหารสูตรครบถ้วน 5 หมู่ ที่มีเวย์โปรตีน” เป็นผงชงดื่มง่าย ให้ผู้สูงวัยดื่มเสริมวันละ 1-2 แก้ว ได้โปรตีนแก้วละ 10 กรัม เพื่อเสริมโปรตีนและสารอาหารให้เพียงพอค่ะ


2. แนะนำเลือกอาหารสูตรครบถ้วน 5 หมู่ ที่มีเวย์โปรตีน พัฒนาสำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ เพราะเป็นโปรตีนที่เหมาะกับผู้สูงอายุที่สุด


การกินโปรตีนให้สูงเพียงพอเป็นเรื่องดี แต่สูงเกินไปก็ส่งผลเสียได้ จึงไม่แนะนำให้กินเวย์โปรตีนทั่วไปสำหรับคนออกกำลังกาย เพราะบางสูตรก็โปรตีนสูงเกิน บางสูตรก็มีน้ำตาลสูงเพื่อให้พลังงานคนออกกำลังกาย แต่ควรกิน “เวย์โปรตีนที่พัฒนาสำหรับผู้สูงวัยโดยเฉพาะ” ออกแบบตามหลักโภชนาการ ไม่ใช่มีแค่โปรตีน แต่มีอาหารครบ 5 หมู่ มีวิตามิน แร่ธาตุ สารอาหาร 29 ชนิด

ที่สำคัญ เวย์โปรตีน เป็นโปรตีนที่ย่อยง่าย ร่างกายดูดซึมไปใช้สูงกว่าโปรตีนอื่นๆ และสร้างกล้ามเนื้อได้ดีที่สุด จึงเหมาะกับผู้สูงวัยกว่าโปรตีนนมถั่วเหลือง หรือนมทั่วไป


3. ออกกำลังกายตามอายุให้เหมาะสม


นอกจากกินโปรตีนให้เพียงพอแล้ว ควรออกกำลังกายตามอายุเพิ่มมวลกล้ามเนื้อด้วย ไม่ว่าจะอายุ 40-50 ปี ยังวิ่งได้ หรือ 60-70 ปี ทำงานบ้านทำสวน หรือ 80 ปีแล้ว ก็ลุกขึ้นนั่ง ลุกเดินบ้าง ยืดเหยียดบ้าง ก็จะช่วยให้มีมวลกล้ามเนื้อที่แข็งแรงขึ้น

อาหารสูตรครบถ้วน 5 หมู่ที่มีเวย์โปรตีน พัฒนาตามหลักโภชนาการสำหรับผู้สูงวัยโดยเฉพาะ


ที่เนสท์เล่ เรามีศูนย์วิจัยทางโภชนาการ พัฒนาสินค้าที่ตรงตามหลักโภชนาการสำหรับผู้สูงวัยโดยเฉพาะ เป็นอาหารสูตรครบถ้วน 5 หมู่ ที่มีเวย์โปรตีน ดูแลครบทั้ง 6 เหลี่ยมสุขภาพใน 1 แก้ว อยู่ในรูปแบบผง ชงง่าย ย่อยง่าย ดูดซึมง่าย รสชาติอร่อย

เป็นสูตรเฉพาะที่คัดสรรวัตถุดิบที่ดีให้กับผู้บริโภค ตั้งแต่การเลือก ใช้เวย์โปรตีน เป็นโปรตีนคุณภาพสูง, เลือกใช้ไขมันชนิดดี, เพิ่มจุลินทรีย์สุขภาพ, มีวิตามินและเกลือแร่ที่สำคัญ เช่น มีวิตามินอีสูง มีแคลเซียมและวิตามินดีสูง มีโคลีนและวิตามินบี 12 สามารถดื่มเสริมวันละ 1-2 แก้วได้ทุกวันอย่างปลอดภัย และได้รับการยอมรับและใช้จริงจากแพทย์ นักโภชนาการ ในโรงพยาบาลชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ ทำการผลิตจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ให้คุณมั่นใจได้ด้วยสินค้าคุณภาพจากเนสท์เล่


อาหารสูตรครบถ้วน มีทั้งสูตรโปรไบโอติกส์
สูตรน้ำตาลต่ำ และ สูตรเสริมใยอาหาร


image


แอด LINE ลงทะเบียน
รับสินค้าตัวอย่างฟรี

สมัครสมาชิกทาง LINE เพื่อรับสินค้าตัวอย่าง คลิกเลย

image



วิธีการสั่งซื้อ

ซื้อจากร้านขายยาทั่วไป คลิกเพื่อดูรายชื่อร้าน

รายชื่อร้านขายยาที่ขาย


ซื้อกับ 7-11 ง่ายๆ 3 ช่องทาง

1.ซื้อผ่าน All Online ส่งได้ทั่วประเทศ
image
ซื้อผ่าน All Online คลิกเลย

2.สั่งซื้อล่วงหน้า พรีออเดอร์ได้ที่ 7-11 ทุกสาขา หรือ
โทร 1371 และ แจ้งรหัสสินค้ากับพนักงาน
รหัส 20590510 (โปรไบโอติกส์สูตรครบถ้วน)
รหัส 27927602 (น้ำตาลต่ำสูตรครบถ้วน)
ทำการนัดหมายรับสินค้ากับพนักงาน
รับสินค้าภายใน 3-5 วัน

3.ซื้อผ่านแอพลิเคชั่น 7-11
ส่งฟรี ภายใน 1 วัน กว่า 330 สาขาทั่วประเทศ

image

วิธีการซื้อผ่านแอพลิเคชั่น 7-11 คลิกเลย


ร้านขายยา ฟาสซิโน

ซุปเปอร์มาร์เกต และร้านขายยา ในห้างฯ เช่น เซ็นทรัล, ท๊อปส์, เดอะมอลล์, บิ๊กซี, โลตัส คลิกเพื่อดูสาขา

image

รายชื่อร้านที่ขาย


สั่ง Online ผ่าน Lazada คลิกที่นี่
image

สั่ง Online ผ่าน Shopee คลิกที่นี่
image

สั่ง Online ผ่าน Shop24 คลิกที่นี่
image

สั่งซื้อทาง LINE
(ส่งถึงบ้านฟรี จ่ายบัตรเครดิตหรือเก็บเงินปลายทางได้)

LINE Nestle Health Science Official คลิก



image

12 คำถามที่พบบ่อย สำหรับอาหารสูตรครบถ้วน


คลิกแต่ละข้อ เพื่ออ่านคำตอบด้านล่างเลยนะคะ

1. อาหารสูตรครบถ้วน คืออะไร?
2. ต่างจากอาหารเสริมอื่นอย่างไร?
3. อายุเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม?
4. กินวันละกี่แก้ว? วิธีกินที่แนะนำ?
5. กินแล้วน้ำหนักจะเพิ่มรึเปล่า จะอ้วนรึเปล่า หรือจะคุมน้ำหนักได้รึเปล่า?
6. วิธีชงที่ถูกวิธี ?
7. ไม่ชอบกินนม แพ้นม กินได้หรือไม่?
8. รสชาติเป็นอย่างไร มีกี่รส?
9. เป็นโรคเบาหวาน? ไขมันในเลือดสูง?
10. เป็นโรคไต?
11. เป็นโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ?
12. วิธีสั่งซื้อ และ ราคา?

หมายเหตุ:คำแนะนำด้านล่างนี้ เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของอาหารสูตรครบถ้วน สภาวะสุขภาพของแต่ละท่านไม่เหมือนกัน จึงต้องขอโทษด้วยนะคะ หากไม่สามารถแนะนำได้ทั้งหมด แนะนำให้นำฉลากในอินเตอร์เนต ปรึกษาแพทย์ด้วยนะคะ


1. อาหารสูตรครบถ้วน คืออะไร

อาหารสูตรครบถ้วน คือ การนำเอาอาหารครบ 5 หมู่ (โปรตีน-คาร์โบไฮเดรต-ไขมัน-วิตามิน-เกลือแร่) มาเป็นรูปแบบผง ชงกินง่าย ทำให้ได้พลังงานใกล้เคียงกับกินอาหารประมาณครึ่งมื้อ... เป็นอาหาร ไม่ใช่ยานะคะ หากไม่ได้มีโรคใดๆที่ในชีวิตปกติต้องหลีกเลี่ยงอาหารเฉพาะกลุ่ม ก็สามารถกินได้ตั้งแต่อายุ 10 ปีขึ้นไปเลยค่ะ หลายท่าน เริ่มกินตั้งแต่อายุ 40 ปีก็มีค่ะ

อาหารสูตรครบถ้วนแต่ละสูตร จะมีส่วนประกอบสารอาหารที่ต่างกัน เช่น เลือกใช้เวย์โปรตีน เพิ่มวิตามินอี เพิ่มจุลินทรีย์สุขภาพ วิตามินและเกลือแร่กว่า 30 ชนิด จึงทำให้สินค้าอาหารสูตรครบถ้วนนี้ แตกต่างจากสินค้าอื่น เป็นอีกหนึ่งทางเลือก ที่ช่วยดูแลสุขภาพตามหลักโภชนาการ
อาหารสูตรครบถ้วนที่ใช้เวย์โปรตีนเป็นส่วนประกอบ จะมีข้อดีคือ เวย์โปรตีนเป็นโปรตีนที่ย่อยง่าย ดูดซึมง่าย ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ได้ดี เพราะเมื่อสูงวัยการย่อยการดูดซึมอาจจะไม่เหมือนเดิม

อาหารสูตรครบถ้วน เป็นอาหาร ไม่ใช่ยา จึงไม่มีผลในการรักษาโรคนะคะ แต่เป็นการดูแลให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เป็นไปตามหลักโภชนาการค่ะ


2. ต่างจากอาหารเสริมอื่นอย่างไร

อาหารเสริมทั่วไป อาจจะเน้นสารอาหารบางอย่างเฉพาะทาง เช่น วิตามินบางตัว สารสกัดบางอย่าง แต่อาหารสูตรครบถ้วน จะเน้นให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอตามหลักโภชนาการ ด้วยแนวคิดที่ว่า หากร่างกายได้รับโปรตีนและพลังงานไม่เพียงพอ ต่อให้กินอาหารเสริมมากแค่ไหน ก็อาจจะไม่ดีเท่ากับการได้รับอาหารที่ครบถ้วนทั้งโปรตีนและพลังงาน บวกกับวิตามินและเกลือแร่ที่เพียงพอไปพร้อมๆกัน

อาหารสูตรครบถ้วน จึงดูแลสุขภาพต่างจากอาหารเสริมกลุ่มที่มีโปรตีนและพลังงานต่ำ เช่น วิตามิน ซุปไก่ รังนก สารสกัดสมุนไพร


3. อายุเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม

หากไม่ได้มีโรคใดๆที่ในชีวิตปกติต้องหลีกเลี่ยงอาหารเฉพาะกลุ่ม ก็สามารถกินได้ตั้งแต่อายุ 10 ปีขึ้นไปเลยค่ะ (อายุ 3-10 ปี มีสูตรสำหรับเด็กโดยเฉพาะ) บางท่านเริ่มกินตั้งแต่อายุ 40 ปี บางท่านอายุ 60 - 90 ก็มีค่ะ


คนทั่วไปกินได้หรือไม่? หรือสำหรับผู้ป่วย?

เนื่องจากเป็น “อาหาร” ที่มีพลังงานใน 1 แก้วใกล้เคียงกับอาหารประมาณครึ่งมื้อ คนทั่วไปที่ชีวิตประจำวัน กินซ้ำๆ กินไม่ครบ 5 หมู่ จึงกินได้ เพราะมีสารอาหารที่ครบถ้วน ในต่างประเทศที่ยุโรปและอเมริกากำลังเป็นที่นิยม ที่คนปกติที่ไม่เจ็บป่วย แต่ได้รับสารอาหารไม่หลากหลาย ไม่ครบถ้วน กินเพื่อดูแลสุขภาพเมื่อสูงวัยตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป และป้องกันก่อนที่จะปล่อยให้ร่างกายขาดสารอาหารบางอย่างโดยไม่รู้ตัว
เพราะหากกินอาหารซ้ำๆ หรือกินน้อยลงเรื่อยๆ สะสมเป็นเวลานาน อาจจะทำให้ร่างกายทรุดโทรมและสายก่อนแก้ก็เป็นได้ การป้องกันแต่เนิ่นๆ จึงเป็นวิธีที่ดีกว่า แต่หากกินอาหารปกติได้น้อยมาก ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อคำนวณปริมาณที่ควรกินต่อวัน
และด้วยความที่เป็นอาหารสูตรครบถ้วนนี่เอง แพทย์จึงนำไปใช้ในโรงพยาบาลให้กับผู้ป่วยที่กินข้าวไม่ได้ หรือพักฟื้นอยู่ ได้กินแทนข้าว บางท่านที่ต้องให้อาหารทางสายยาง กินข้าวปกติไม่ได้ สามารถกินวันละ 6-8 แก้วแทนข้าวทั้ง 3 มื้อได้นานหลายปี ภายใต้คำแนะนำของแพทย์


หมายเหตุ: สูตรสำหรับเด็ก ต่ำกว่า 10 ปี กดอ่านได้ที่นี่


4. กินวันละกี่แก้ว? วิธีกินที่แนะนำ?


สภาวะสุขภาพของแต่ละท่านไม่เหมือนกัน จะไม่ได้กินตามอายุนะคะ แต่กินตามความต้องการพลังงานแต่ละท่าน

ใน 1 แก้วให้พลังงานประมาณ 250 กิโลแคลอรี หรือเท่ากับข้าวประมาณครึ่งมื้อ

ถ้ากินข้าวได้ปกติ และไม่ผอมมากก็เสริมวันละ 1แก้วค่ะ

แต่ถ้าผอมมาก น้ำหนักลด หรือกินข้าวน้อยมื้อไหน เช่น ข้าวเช้ากินไม่ลง หรือข้าวเย็นกินนิดเดียว ...แนะนำเสริม 2 แก้วให้ได้เท่ากับ 1 มื้อก็ได้ค่ะ

หมายเหตุ: หากน้ำหนักลดเยอะ ควรปรึกษาแพทย์ กินตามคำแนะนำของแพทย์ เพราะอาจต้องดูแลมากกว่าเรื่องอาหาร เช่นต้องดูพวกฮอร์โมน ยา หรือโรคแทรกซ้อนอื่นๆ


5. กินแล้วน้ำหนักจะเพิ่มรึเปล่า จะอ้วนรึเปล่า หรือจะคุมน้ำหนักได้รึเปล่า?


จะน้ำหนักขึ้นหรือไม่ ขึ้นกับว่า กินอาหารต่อวันได้รับพลังงานเท่าไหร่ และใช้พลังงานไปเท่าไหร่นะค่ะ
ใน 1 แก้วให้พลังงาน 250 กิโลแคลอรี หรือใกล้เคียงกับอาหารประมาณครึ่งมื้อ จึงสามารถปรับวิธีกินได้ตามต้องการค่ะ


สำหรับคนที่กังวล ไม่อยากให้น้ำหนักขึ้น


หลักการง่าย ๆ คือ กินให้พอดี กับที่ร่างกายต้องใช้พลังงาน
สามารถกินอาหารสูตรครบถ้วนทดแทนมื้ออาหารได้ เช่นกินข้าวครึ่งมื้อ แล้วกิน 1 แก้ว แทนครึ่งมื้อที่หายไป หรือ ลดการกินจุบจิบ ลดขนมระหว่างมื้อ แล้วกิน 1 แก้วเพื่อให้มีสารอาหารที่ดีแทน

สำหรับคนที่มีปัญหาน้ำหนักลดลง และอยากเพิ่มน้ำหนัก


หลักการง่าย ๆ คือ กินให้ได้พลังงานเยอะกว่าที่ร่างกายต้องใช้ นั่นคือให้กินข้าวตามปกติให้เพียงพอ แล้วกินอาหารสูตรครบถ้วนเสริมเข้าไป ก็จะน้ำหนักขึ้นได้ค่ะ
  หมายเหตุ: หากน้ำหนักขึ้นหรือลงรวดเร็วผิดปกติ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ด้วยนะคะ เพราะอาจมีโรคอื่นแทรกซ้อน และเมื่อปรึกษาแพทย์แล้วค่อยดูแลด้วยอาหารค่ะ
การจะเปลี่ยนแปลงน้ำหนักไม่ว่าจะอยากให้น้ำหนักขึ้นหรือลง ขึ้นกับกิจกรรมในแต่ละวัน และขึ้นกับพลังงานที่ได้รับจากการกินอาหารปกติและการกินเสริมเข้าไปว่ามากน้อยแค่ไหนนะคะ


6. วิธีชงที่ถูกวิธี


1. เตรียมน้ำ 210 มล. หรือน้ำประมาณ ครึ่งแก้ว (เทน้ำก่อน เติมผงทีหลัง จะละลายได้ง่ายกว่า)
หมายเหตุ: ใช้น้ำอุณหภูมิห้อง หรือน้ำเย็น ไม่ใช้น้ำร้อนเกิน 45องศา เพื่อไม่ให้วิตามินสลาย และไม่ให้จุลินทรีย์สุขภาพตายไป เพื่อประโยชน์สูงสุด
2. ตักผงลงไป 7 ช้อนตวง(ช้อนอยู่ในกระป๋อง) แล้วชงให้ละลาย (1 กระป๋อง 800 กรัม ชงได้ประมาณ 14-15 แก้ว)
หมายเหตุ: หากกินน้อยกว่า 7 ช้อน จะได้พลังงานและโปรตีน และสารอาหารน้อยกว่าที่แนะนำ
3. ควรกินทันที หรือเก็บไว้ไม่เกิน 4 ชั่วโมงที่อุณหภูมิห้อง หรือเก็บไว้ได้ 12 ชั่วโมงในตู้เย็น
หมายเหตุ: ควรเก็บไว้ในที่แห้งและเย็น หลังเปิดฝา ควรเก็บไว้ไม่เกิน 4 สัปดาห์


7. ไม่ชอบกินนม แพ้นม กินได้หรือไม่


ต้องทราบก่อนว่า แพ้โปรตีนในนม หรือเกิดจากร่างกายย่อยน้ำตาลที่ชื่อ แลคโตส ในนมไม่ได้นะคะ
(อาการที่ร่างกายย่อย "แลคโตส" ไม่ได้ จะคล้ายๆอาการแพ้ เช่น ท้องอืด ลมเยอะ ท้องเสีย)
สินค้าอาหารสูตรครบถ้วน มีส่วนผสมของโปรตีนจากนม หากท่านไหน แพ้โปรตีนจากนม ไม่สามารถกินได้ค่ะ
แต่หากเป็นเพราะร่างกายไม่ย่อยน้ำตาลแลคโตสในนม สินค้าจะไม่มีแลคโตสค่ะ ก็จะสามารถกินได้ หากไม่ทราบ สามารถปรึกษาแพทย์ได้ก่อนรับประทานนะคะ
หากแค่ไม่ชอบกินนม ต้องทดลองกินดูค่ะ เพราะกลิ่นและรสจะต่างจากนมทั่วไป จึงอาจจะสามารถกินได้



8. รสชาติเป็นอย่างไร มีกี่รส


สินค้าตอนนี้มี 1รสชาติ เป็นกลิ่น วนิลลา ค่ะ หากเคยกินที่มีกลิ่นวนิลลาได้ ก็มักจะไม่มีปัญหาค่ะ
รสจะออกหวานนิดๆ แต่ไม่หวานมาก หากไม่ชอบหวานเลย อยากให้รสจืดลง สามารถนำชงด้วยน้ำเย็น หรือแช่ตู้เย็นให้เย็นก่อนดื่ม หรืออาจเติมน้ำเพิ่มให้เจือจางได้ (ไม่ใช้วิธีลดผงลง เพราะสารอาหารจะลดลง)
หากอยากได้รสชาติใหม่ๆ สามารถเติมผงโกโก้ ไมโล ชาเขียว กาแฟ หรือทำเป็นน้ำปั่น สมู๊ตตี้ ผสมน้ำผลไม้ ได้ตามใจชอบค่ะ


 

9. เป็นโรคเบาหวาน? ไขมันในเลือดสูง?
ผู้ที่เป็นเบาหวาน


1. หากเป็นเบาหวาน ควรปรึกษาแพทย์ก่อนกินอาหารเสริมใดๆก็ตามนะคะ
  2. ต้องเลือกอาหารสูตรครบถ้วนที่ออกแบบสำหรับผู้ที่ควบคุมน้ำตาลโดยเฉพาะค่ะ ควรเป็นสูตรที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ ใยอาหารสูง และแนะนำให้เลือกสูตรที่ไม่มีน้ำตาลฟรุกโตส
ซึ่งน้ำตาลฟรุคโตส สามารถเปลี่ยนเป็นไขมันในเลือดได้ มีผลงานวิจัยว่า หากกินฟรุคโตสปริมาณสูง อาจมีความเสี่ยงต่อไขมันในเลือดสูงได้
ผู้ที่เป็นเบาหวานส่วนใหญ่จะต้องระวังระดับคลอเลสเตอรอลในเลือด จึงสอดคล้องกับคำแนะนำของสมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกา (ADA) ในปี ค.ศ 2008 ที่ได้ระบุว่าไม่แนะนำให้ใช้น้ำตาลฟรุกโตสเติมลงในอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน จึงแนะนำให้อ่านฉลาก และมองหาอาหารสูตรสำหรับผู้ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่ไม่มีฟรุกโตส
สนใจอาหารสูตรครบถ้วนที่ออกแบบเฉพาะสำหรับผู้ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ที่ไม่มีน้ำตาลฟรุกโตส คลิ๊กที่นี่
นอกจากนี้เวย์โปรตีน โปรตีนคุณภาพสูง ยังเหมาะกับผู้ที่เป็นเบาหวานเช่นกัน
อ่านเรื่องโปรตีนกับเบาหวานเพิ่มเติม คลิ๊กที่นี่


ผู้ที่เป็นไขมันในเลือดสูง


1. หากเป็นไขมันในเลือดสูง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนกินอาหารเสริมใดๆก็ตามนะคะ
2. แนะนำเลือกอาหารสูตรครบถ้วนที่ใช้ไขมันชนิดดี ใช้น้ำมันพืช เช่น น้ำมันจากดอกทานตะวัน น้ำมันเรปซีด ที่มี ไขมัน MUFA ช่วยลด LDL (ไขมันชนิดไม่ดีที่ทำให้เส้นเลือดอุดตัน)
สนใจอ่านเรื่อง "ไขมันชนิดดี" คลิ๊กที่นี่
สนใจสินค้าที่ใช้น้ำมันจากดอกทานตะวัน น้ำมันเรปซีด คลิ๊กที่นี่เพื่อดูส่วนประกอบบนฉลาก ด้านล่างสุดของหน้า
อาหารสูตรครบถ้วน มีไขมันในสัดส่วนที่เป็นไปตามหลักโภชนาการ อย่างไรก็ตามก็ยังคงมีไขมันอยู่ ควรปรึกษาแพทย์หากมีความกังวลเกี่ยวกับไขมันในเลือดสูง


10. เป็นโรคไต

รบกวนปรึกษาหมอก่อนทานอาหารเสริมใดๆนะคะ เพราะสภาวะสุขภาพของแต่ละท่านไม่เหมือนกัน โรคไตมีความหนักเบาต่างกัน
บางระยะของโรคไต ต้องการโปรตีนต่ำ ไม่ให้ไตทำงานหนัก
บางระยะของโรคไต โปรตีนจะถูกขับออกไปมากเกิน จึงต้องการโปรตีนเสริมเข้าไป
การให้คำปรึกษาทาง internet ที่ไม่ได้ผ่านการตรวจร่างกาย ไม่สามารถให้คำแนะนำได้ดีพอค่ะ จึงต้องขออภัย หากไม่สามารถระบุได้ชัดเจนนะคะ ควรปรึกษาแพทย์ค่ะ


11. เป็นโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ


หากมีอาการ รบกวนปรึกษาแพทย์นะคะ เพราะโรคเกี่ยวกับไขข้อ - กล้ามเนื้อ อาจจะต้องดูแลมากกว่าแค่อาหารก็เป็นได้ค่ะ เช่น อาจต้องดูแลเกี่ยวกับระบบเส้นประสาทที่สั่งการกล้ามเนื้ออีกที
และอาหารสูตรครบถ้วน เป็นอาหารครบ 5 หมู่ แต่ไม่ใช่ยา ไม่มีผลทางการรักษานะคะ

แต่หากระหว่างรักษากับแพทย์แล้วต้องการสารอาหารที่ดี มีโปรตีนที่ดี มีสมดุลโภชนาการครบ 5 หมู่ วิตามินแร่ธาตุ สารอาหารกว่า 30 ชนิด ก็สามารถกินระหว่างการรักษาได้ค่ะ

12. วิธีสั่งซื้อ และ ราคา


สามารถกดดูราคาได้เลย ใน link สั่งซื้อ online ได้เลยนะคะ

ข้อมูลอ้างอิง

1. Jürgen B., et al. Evidence-Based Recommendations for Optimal Dietary Protein Intake in Older People: A Position Paper From the PROT-AGE Study Group. JAMDA 14 (2013) 542-559
2. Janne B., et al. Body Fat and Fat-Free Mass and All-Cause Mortality. OBESITY RESEARCH Vol. 12 No. 7 July 2004.
3. Denise K H.,et al. Dietary protein intake is associated with lean mass change in older, community-dwelling adults: the Health, Aging, and Body Composition (Health ABC) Study. The Journal of Physiology, 2003, 549: 635-644.
4. Preethi S., et al, Muscle Mass Index as a Predictor of Longevity in Older-Adults. Am J Med. 2014 June ; 127(6): 547–553.
5. Barbara S., et al, Role of Dietary Protein and Muscular Fitness on Longevity and Aging. Aging and Disease • Volume 9, Number 1, February 2018.
6. Dangin,M. The rate of protein digestion affects protein gain differently during aging in humans. The Journal of Physiology, 2003, 549: 635-644.
7. Bounous G, et al, Immunoenhancing property of dietary whey protein in mice: Role of glutathione. Clinical and Investigative Medicine 1989; 12: 154-161.
8. Fried MD, et al. Decrease in gastric emptying time and episodes of regurgitation in children with spastic quadriplegia fed a whey-based formula. The journal of pediatrics 1992: 120:569-572.
9. Lichtenstein HA., Appel JL., Brands M, et al.Diet and Lifestyle Recommendations Revision 2006 : A Scientific Statement From the American Heart Association Nutrition Committee. Circulation. 2006;114:82-96.
10. Nutrition Recommendations and Interventions for Diabetes A position statement of the American Diabetes Association Diabetes Care, Volume 31, Supplement 1, January 2008.
11. Demling, Robert H. 2009. Nutrition, anabolism, and the wound healing process: an overview. ePlasty 9.
12. รศ.นพ. วีรศักดิ์ เมืองไพศาล. Role of nutrition in sarcopenia patients. บรรยายพิเศษงานประชุมประจำปี 2560 ของสมาคมพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. 15 ก.พ. 2560.
13. Burns JM, Johnson DK, Watts A, Swerdlow RH, Brooks WM. Reduced Lean Mass in Early Alzheimer Disease and Its Association With Brain Atrophy. Arch Neurol [Internet]. 2010 ;67(4):428 - 433.
14. Maria A. Fiatarone Singh MD, et al. The Study of Mental and Resistance Training (SMART) Study Resistance Training and/or Cognitive Trainingin Mild Cognitive Impairment: A Randomized, Double-Blind. 1525-8610/ 2014 AMDA e The Society for Post-Acute and Long-Term Care Medicine.

คือ