
ทราบหรือไม่ว่า ผู้ป่วยโรคอ้วนมีเพิ่มมากขึ้นทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทย มีการคาดการณ์ว่า ในอีก 10 ปีข้างหน้า พ.ศ. 2566 ทั่วโลกจะมีผู้ป่วยโรคอ้วนสูงถึง 2 พันล้านราย และประเทศไทยจะมีผู้ป่วยโรคอ้วนมากกว่า 1 ใน 4 ของประชากรในประเทศ1 แล้วโรคอ้วนคืออะไรกันแน่?
โรคอ้วนคือ ภาวะที่ร่างกายมีการสะสมของไขมันมากเกินไปหรือมากกว่าระดับปกติที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันจนเกิดการสะสมขึ้น ซึ่งอาจส่งผลหลายๆอย่างต่อสุขภาพ
ทั้งนี้ โรคอ้วนแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
- อ้วนลงพุง คือ เส้นรอบเอวที่สูงกว่ามาตรฐานที่กำหนด โดยคำนวณจาก ส่วนสูง (เซ็นติเมตร) / 2 โดยสำหรับคนไทย เส้นรอบเอวเพศชาย ไม่ควรมีรอบเอวเกิน 90 เซนติเมตร (36 นิ้ว) และ เพศหญิง ไม่ควรมีรอบเอวเกิน 80 เซนติเมตร (32 นิ้ว)
- อ้วนทั้งตัว คือ มีค่าดัชนีมวลกายสูงกว่ามาตรฐานกำหนด บ่งชี้ด้วยค่า BMI โดยคำนวณจาก น้ำหนัก (กิโลกรัม)/ ส่วนสูง (เมตร) x ส่วนสูง (เมตร)

จึงไม่น่าแปลกเลยที่ในท้องตลาดจะมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก อาหารลดน้ำหนักหลากหลายรูปแบบจำหน่าย แต่ไม่ใช่ทุกแบรนด์จะเหมือนกันเลยเสียทีเดียว ซึ่งสรรพคุณหลักๆที่กล่าวถึงจะค่อนข้างใกล้เคียงกัน เช่น ทานแล้วอิ่ม อยู่ท้อง โปรตีนสูง น้ำตาลต่ำหรือน้ำตาล 0% ให้พลังงานต่อซองน้อย มีส่วนผสมของถั่วเหลือง มีทั้งโปรตีนจากพืชและสัตว์ มีให้เลือกทานแบบผงชงดื่ม หรือรูปแบบเม็ด เพื่อความสะดวกสบายเหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน
แล้วอาหารทางการแพทย์เพื่อลดน้ำหนัก แตกต่างกับผลิตภัณฑ์เพื่อลดน้ำหนักทั่วไปอย่างไร? สรุปสั้นๆได้ดังนี้
- อาหารทางการแพทย์เพื่อลดน้ำหนักขึ้นทะเบียนเป็นอาหารทางการแพทย์
- การขึ้นทะเบียนเป็นอาหารทางการแพทย์เพื่อลดน้ำหนักจะต้องมีผลวิจัยรองรับ
- อาหารทางการแพทย์เพื่อลดน้ำหนัก มีปริมาณสารอาหารเป็นไปตามข้อกำหนดของ CODEX คณะกรรมาธิการโครงการมาตรฐานอาหาร FAO/WHO (Codex Alimentarius Commission - CAC) มีหน้าที่กำหนดมาตรฐานอาหารให้เป็นมาตรฐานสากล
- อาหารทางการแพทย์เพื่อลดน้ำหนัก พัฒนาสูตรให้มีสารอาหารเหมาะสมต่อการลดน้ำหนัก โดยไม่ทำให้ขาดสารอาหาร
- อาหารทางการแพทย์เพื่อลดน้ำหนักใช้ในโรงพยาบาลได้
- อาหารทางการแพทย์เพื่อลดน้ำหนักใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์กรณีมีข้อบ่งชี้ของโรค NCDs บางชนิด นักกำหนดอาหาร (Non-Communicable Diseases เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คือ ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคและไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้)
- ส่วนใหญ่เป็นสูตร VLCD หรือ Very Low Calorie Diet

ทั้งนี้ อย่าลืมว่า การลดน้ำหนักที่ได้ผลเกิดจากการจำกัดพลังงานและรับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการร่วมกับการปรับพฤติกรรมการออกกำลังกาย หากมีวินัยและปฏิบัติตามข้อบ่งใช้บนฉลากเพื่อคุมพลังงานได้ การใช้อาหารทางการแพทย์นอกจากจะปลอดภัยแล้วยังเห็นผลได้อย่างแน่นอน โดยไม่ทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร
เอกสารอ้างอิง
1. World Obesity Federation, World Obesity Atlas 2023. https://data.worldobesity.org/publications/?cat=19.
