แผนอาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งฉบับคนกินข้าวไม่ลง

oral impact, ออรัล อิมแพ็ค, อาหารผู้ป่วยมะเร็ง, มะเร็ง, ผ่าตัด, อาหารทางการแพทย์, อาหารการแพทย์

 

สำหรับหลาย ๆ คน "การกิน" อาจดูเป็นเรื่องธรรมดา สำหรับใครหลายคน แต่สำหรับ ผู้ป่วยมะเร็งที่ต้องได้รับเคมีบำบัด (คีโม) หรือการฉายรังสี (ฉายแสง) การกินอาหารในแต่ละคำกลับกลายเป็นเรื่องยากกว่าที่หลายคนจะเข้าใจ  ความรู้สึกเจ็บจนไม่อยากกลืนลงไป ทำให้ผลที่ตามมาคือ ผู้ป่วยได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว ร่างกายอ่อนแอ รู้สึกเพลีย และภูมิคุ้มกันลดลง ซึ่งอาจทำให้ร่างกายไม่สามารถทนต่อการรักษาได้จนต้องเลื่อนหรือหยุดการรักษากลางคันได้ 

 

เราสามารถแก้ปัญหาและป้องกันปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร ?

  1. เน้นโปรตีน เสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงขึ้นโปรตีนมีบทบาทสำคัญในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดและเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยมะเร็งจึงควรได้รับโปรตีนเพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับคนทั่วไป โดยควรได้รับโปรตีนอยู่ที่ โปรตีน = 1-1.5 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม

 

oral impact, ออรัล อิมแพ็ค, อาหารผู้ป่วยมะเร็ง, มะเร็ง, ผ่าตัด, อาหารทางการแพทย์, อาหารการแพทย์

 

2. เพิ่มไขมันดี ช่วยเพิ่มพลังงานและเป็นตัวช่วยลดการอักเสบ

กรดไขมัน omega-3 จากน้ำมันปลา มีบทบาทช่วยลดการอักเสบของร่างกายและช่วยให้การตอบสนองของภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานได้อย่างเป็นปกติ   

 

3. เลือกอาหารที่กินง่ายและให้พลังงานสูง 

เมื่อการกินอาหารเพิ่มขึ้นหรือแม้แต่การกินปริมาณเท่าเดิมเป็นเรื่องยาก สิ่งที่เราต้องทำคือ “เลือกอาหารที่ให้พลังงานและสารอาหารสูง” แม้จะกินได้ในปริมาณที่ไม่มาก แต่ให้พลังงานสูง 

 

4.กระตุ้นความอยากอาหารด้วยรสเปรี้ยว-หวาน

อาหารที่มีรสเปรี้ยว-หวานเล็กน้อย  อาจช่วยกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีความอยากอาหารเพิ่มขึ้นได้ได้ 

ข้อดีของอาหารทางการแพทย์ที่เหมาะกับผู้เป็นมะเร็ง

 

  1. ให้พลังงานและสารอาหารครบถ้วน อาหารทางการแพทย์สูตรครบถ้วน มักถูกออกแบบให้มี โปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุที่จำเป็น ในปริมาณที่เหมาะสม โดยใน 1 แก้ว โดยส่วนมากสามารถให้พลังงานเทียบเท่ากับ อาหารทั่วไปได้เกือบครึ่งจาน ทำให้ช่วยเติมเต็มสารอาหารที่ขาดหายได้
  2. ดื่มง่าย ย่อยง่าย เหมาะสำหรับผู้ที่กินอาหารได้ยาก เนื่องจากอาหารทางการแพทย์มักอยู่ในรูปแบบของผสมให้เป็นของเหลวได้ ทำให้ กลืนง่าย ย่อยง่าย 
  3. เสริมสารอาหารเฉพาะสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง อาหารทางการแพทย์สูตรครบถ้วนสำหรับผู้ป่วยมะเร็งมักมี พลังงานและโปรตีนสูงกว่า สูตรทั่วไป และมีการเสริมสารอาหารที่ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (Immunonutrition) ซึ่งมีคำแนะนำจาก ESPEN guideline on nutrition in cancer ปี 2021 แนะนำอาหารทางการแพทย์ ที่มีสารอาหารช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันกัน  ประกอบด้วย อาร์จินีน (arginine), โอเมก้า-3 (omega-3 fatty acids),นิวคลีโอไทด์ (nucleotides) สำหรับ ผู้ป่วยมะเร็งทางเดินอาหารส่วนต้น เช่น มะเร็งหลอดอาหาร ที่เตรียมผ่าตัด เพื่อช่วยลดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด  ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น 
oral impact, ออรัล อิมแพ็ค, อาหารผู้ป่วยมะเร็ง, มะเร็ง, ผ่าตัด, อาหารทางการแพทย์, อาหารการแพทย์

 

โดยสารอาหารที่ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันเหล่านี้ มีบทบาทที่สำคัญ ได้แก่

  • กรดอะมิโนจำเป็น อาร์จินีน ช่วยกระตุ้นการทำงาน และ ไรโบนิวคลีโอไทด์ เพิ่มเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อและสร้างภูมิคุ้มกัน
  • เวย์โปรตีนเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่ให้กลูตามีน ที่เป็นแหล่งพลังงานหลักของเซลล์ลำไส้ ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน
  • กรดไขมัน Omega-3 จากน้ำมันปลา มีส่วนช่วยลดการอักเสบในร่างกายวิตามินและเกลือแร่ที่เหมาะสม ที่ส่งเสริมให้ร่างกายฟื้นตัวเร็วขึ้น

 

ดังนั้นอาหารทางการแพทย์สูตรครบถ้วนที่มีสารอาหารช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่กินอาหารได้น้อย เพราะช่วยให้ได้รับพลังงานและสารอาหารที่จำเป็น ในรูปแบบที่ดื่มง่าย ย่อยง่าย และช่วยฟื้นฟูร่างกาย ภูมิคุ้มกันดีขึ้น พร้อมสำหรับการรักษาและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

คือ