ดูแลอาหาร ผู้ที่ต้องผ่าตัด | Nestlé Health Science

ดูแลอาหาร ผู้ที่ต้องผ่าตัด | Nestlé Health Science

ดูแลอาหาร ผู้ที่ต้องผ่าตัด

ผู้ที่ต้องผ่าตัด


1. ผ่าตัดใหญ่ เช่น ผู้ที่ผ่าตัดหัวใจ ผ่าตัดมะเร็ง เช่น มะเร็งลำไส้ มะเร็งศรีษะและคอ มะเร็งเต้านม
2. ผ่าตัดไม่ใหญ่แต่มีผลกระทบกับการกินอาหาร เช่น ผ่าฟันกราม ผ่าฟันคุด ที่หลังผ่าตัดจะกินอาหารลำบาก



ผู้ที่จะผ่าตัดดังกล่าวข้างต้น ร่างกายจะต้องการสารอาหารเฉพาะทางเป็นพิเศษ ซึ่งแพทย์วิจัยค้นพบว่า หากได้รับสารอาหารที่เหมาะสมก่อนและหลังการผ่าตัด จะทำให้แผลหายเร็ว ลดการติดเชื้อ ลดค่าใช้จ่ายเพราะลดจำนวนวันที่นอนโรงพยาบาลได้ ซึ่งรวมไปถึงลดอัตราการเสียชีวิตได้ หรือในรายที่ผ่าตัดฟัน อาจช่วยให้แผลหายเร็ว กลับมากินอาหารปกติได้เร็วขึ้น จึงถือเป็นวิทยาการใหม่ๆ ที่ช่วยให้เราสามารถดูแลตัวเองได้ด้วยอาหาร



เมื่อต้องผ่าตัด ต้องระวังอะไร?


เมื่อมีการผ่าตัด ร่างกายจะเกิดภาวะอักเสบและมีการบวมเกิดขึ้น (คล้ายกับเมื่อเราเป็นแผลมีดบาด รอบ ๆ แผลจะบวมขึ้นมา) ซึ่งเป็นกลไกธรรมชาติเพื่อกำจัดเชื้อโรค ในภาวะนี้หากไม่ได้รับสารอาหารอย่างเหมาะสม ภูมิคุ้มกันจะตกลง กล้ามเนื้อจะถูกสลายมาใช้ ร่างกายจะอ่อนแรง และฟื้นตัวช้า


ในระยะที่ภูมิคุ้มกันตกนี่เอง ที่อาจมีการติดเชื้อได้ง่าย มีงานวิจัยพบว่าโอกาสติดเชื้อจะต่างกันไปตามสภาวะสุขภาพแต่ละคน แต่ภาพรวมคือมีโอกาสติดเชื้อสูงถึง 30-50% ดังตารางด้านล่าง



 

ผู้ที่ต้องผ่าตัด

โอกาสติดเชื้อ

คนปกติ ที่ได้รับสารอาหารพอเพียง

30%

น้ำหนักมาก ( BMI 25 - 30 )

35%

อ้วน ( BMI >30 )

50%

ผ่าตัดหัวใจ

55%



การติดเชื้อ, การที่แผลหายช้าและร่างกายฟื้นตัวช้านี่เอง เป็นเหตุให้ต้องอยู่โรงพยาบาลนานขึ้น

สารอาหารที่ถูกต้อง ดูแลผู้ที่จะผ่าตัดได้


สมาคมผู้ให้อาหารทางหลอดเลือดดำและทางเดินอาหารแห่งยุโรป (ESPEN- European Society for Clinical Nutrition and Metabolism) สนับสนุนโปรแกรมที่ช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วหลังการผ่าตัด โดยมี 2 กลุ่มสารอาหารสำคัญดังต่อไปนี้



1.โปรตีนสูง


โปรตีนเป็นส่วนประกอบของผิวหนัง และเนื้อเยื่อต่างๆ รวมทั้งเซลล์เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว ดังนั้นการได้รับโปรตีนสูง จะช่วยให้ร่างกายซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้ดี ส่งผลให้แผลหายเร็ว (บางท่านเรียกว่า แผลสวย เชื่อมสนิทเร็ว) รวมไปถึงลดอัตราการเสียชีวิตได้ จึงเป็นแนวทางใหม่ที่แพทย์ยุคใหม่ มักจะเสริมโปรตีนให้สูงในอาหารสำหรับผู้ที่ต้องผ่าตัด



2. สารอาหารเพิ่มภูมิคุ้มกัน (Immunonutrition)


คือ สารอาหารที่มีผลงานวิจัยว่า ช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย หรือลดการอักเสบได้ จึงช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อ ลดเวลาที่ต้องนอนโรงพยาบาลได้


สารอาหารเพิ่มภูมิคุ้มกันที่ควรรู้จักมี 3 ชนิดดังนี้



1. อาร์จีนีน
คือ กรดอะมิโนจำเป็นยามเจ็บป่วย ช่วยเพิ่มจำนวนและเสริมสร้างการทำงานของเม็ดเลือดขาว (lymphocyte) และช่วยสมานแผลผ่าตัดเร็วขึ้น

2. ไรโบนิวคลีโอไทด์
คือ ส่วนประกอบของสารพันธุกรรม (DNA/RNA) ช่วยเพิ่มจำนวนเซลล์ลำไส้และเซลล์เม็ดเลือดขาว จึงช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย

3. โอเมก้า 3
ช่วยลดการผลิตสารกระตุ้นการอักเสบ (pro-inflammatory cytokine) ช่วยควบคุมการอักเสบในร่างกาย

ผลงานวิจัยในกลุ่มผ่าตัดมะเร็งลำไส้ มะเร็งศรีษะและคอ เมื่อกินอาหารเสริมที่มีทั้งโปรตีนสูง และมีสารเพิ่มภูมิคุ้มกัน 3 ชนิด หรือเรียกว่า “อาหารสูตรที่มี IMPACT” จะช่วยให้


1. ลดการติดเชื้อได้ถึง 51%


2. ลดจำนวนวันที่ต้องอยู่โรงพยาบาล 2-3 วัน



อาหารเสริมที่มีทั้งโปรตีนสูง และมีสารเพิ่มภูมิคุ้มกัน 3 ชนิด จาก Nestle Health Science


ที่เนสท์เล่ เราพัฒนาอาหารสูตรครบถ้วน เป็นสูตรเฉพาะหนึ่งเดียวจากเนสท์เล่ที่มีผลงานวิจัยทางการแพทย์ เป็นไปตามหลักทางโภชนาการ มีโปรตีนสูง เป็น เวย์โปรตีน 100% , มี แอล-อาร์จีนีน, ไรโบนิวคลีโอไทด์, โอเมก้า 3 และมีวิตามินและเกลือแร่ที่สำคัญรวม 30 ชนิด ได้รับการยอมรับและใช้จริงจากแพทย์ในโรงพยาบาลชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ ผลิตอยู่ในรูปแบบผง ชงง่าย รสชาติอร่อย ทานง่าย ผลิตจากประเทศเยอรมัน ให้คุณมั่นใจได้ด้วยสินค้าคุณภาพจากเนสท์เล่



วิธีกินอาหารเสริมที่มีโปรตีนสูง และสารเพิ่มภูมิคุ้มกัน 3 ชนิดใน 1 แก้วที่แนะนำ


กินก่อนและหลังผ่าตัด 5 วัน วันละ 3 ซองดังนี้ (หากกินน้อยกว่านี้ อาจจะไม่ได้ผลตามงานวิจัย)






ข้อมูลอ้างอิง:
1. Capra S, Bauer J, Davison W, Ash S. Nutritional Therapy for cancer-induced weight loss. Nutr Clin Pract.2002;17(4):210-213.
2. Ottery FD.Cancer cachexia:Prevention, early diagnosis, and management.Cancer Pract. 1994;2:123-131.
3. Dewys WD, Begg C, Lawin PT, et al (Eastern Cooperative Oncology Group).Prognostic effect of weight loss prior to chemotherapy in cancer patients. Am J Med.1980;69.491-497.
4. Andreyev HJ, Norman AR, Oates J,Cunningham D: Why do patients with weight loss have a worse outcome when undergoing chemotherapy for gastrointestinal malignancies? Eur J Cancer. 1998;34(4) :503-509.
5. Davison W, Ash S,Capra S, et al. Weight stabilization is associated with improved survival duration and quality of life in unresectable pancreatic cancer. Clin Nutr2004;(2):239-247.
6. Christelle M, et al. Immunonutrition before and during radiochemotherapy: improvement of inflammatory parameters in head and neck cancer patients
7. Metin Senkal, MD; Volker Zumtobel, MD; Karl-Heinz Bauer, MD; Barbara Marpe, MD; Günther Wolfram, MD; Andreas Frei, MPH; Ulrich Eickhoff,MD; Matthias Kemen,MD. 1999 , Outcome and Cost-effectiveness of Perioperative enteral immunonutrition in Patients undergoing elective upper Gastrointestinal Tract surgery. Arch Surg. 134 : 1309 - 1316
8. Dan L. Waitzberg, MD; Hideaki Saito, MD; Lindsay D. Plank, PhD; Glyn G. Jamieson, MD; Palepu Jagannath, MD; Tsann-Long Hwang, MD; Juan M. Mijares, MD; David Bihari, MD. 2006 , Postsurgical Infections are reduced with specialized nutrition support. World Journal of Surgery 30: 1592–1604
9. Marco Braga; Luca Gianotti, MD, ScD; Giovanni Radaelli, Phd; Andrea Vignali, MD; Gilberio Mari, MD; Oreste Gentilini, MD; Valerio Di Carlo,MD. 1999, Perioperative Immunonutrition in patients undergoing cancer surgery. Arch Surg. 134: 428 – 433
10. Luca Gianotti, MD, ScD; Marco Braga; Luca Nespoli; Giovanni Radaelli; Aldo beneduce; Valerio Di Carlo. 2002 ,A randomized controlled trial of preoperative oral supplementation with a specialized diet in patients with gastrointestinal cancer Gastroenterology 122 : 1763 – 1770
11. Society of Critical Care Medicine (SCCM) and American Society for Parenteral and Enteral Nutrition (A.S.P.E.N.) 2009 Guidelines for the provision and assessment of nutrition support therapy in the adult critically ill patient. JPEN 33(3) : 277-316
12. Weimann, M. Braga, L. Harsanyi, A.Laviano, O. Ljungqvist, P. Soeters, DGEM: K.W. Jauch, M. Kemen, J.M. Hiesmayr, T. Horbach, E.R. Kuse, K.H. Vestweber. 2006 , ESPEN Guidelines on Enteral Nutrition : Surgery including organ transplantation. Clinical Nutrition 25 : 224 - 244
13. Minhao Zhou and Robert G. Martindale June 2007, Supplement: 6th Amino Acid Assessment Workshop: SESSION 3 : Arginine in the Critical Care Setting. J Nutr 137:1687S-1692S
14. https://www.cancerfund.org/upload/booklets/file/Diet%20&%20Cancer%20April15C+C(1).pdf
15. https://www.siamca.com/knowledge-id280.html

 

image

image

image

แอด LINE @Nestle.Health คลิก

วิธีการสั่งซื้อ

มีขายแล้ว ที่ร้านยาเพียว ในบิ๊กซี ทุกสาขา และ
ที่ร้าน บูทส์ บางสาขา




ซื้อจากร้านขายยาทั่วไป คลิกเพื่อดูรายชื่อร้าน

รายชื่อร้านขายยาที่ขาย



ซื้อกับ 7-11 ง่ายๆ 3 ช่องทาง

1.ซื้อผ่าน All Online ส่งได้ทั่วประเทศ
image
ซื้อผ่าน All Online คลิกเลย

2.สั่งซื้อล่วงหน้า พรีออเดอร์ได้ที่ 7-11 ทุกสาขา หรือ
โทร 1371 และ แจ้งรหัสสินค้ากับพนักงาน
รหัส 16226005 (สารอาหาร-ภูมิคุ้มกัน สูตรครบถ้วน)
ทำการนัดหมายรับสินค้ากับพนักงาน
รับสินค้าภายใน 3-5 วัน

3.ซื้อผ่านแอพลิเคชั่น 7-11
ส่งฟรี ภายใน 1 วัน กว่า 330 สาขาทั่วประเทศ

image

วิธีการซื้อผ่านแอพลิเคชั่น 7-11 คลิกเลย


ร้านขายยา ฟาสซิโน


สั่ง Online ผ่าน Lazada คลิกที่นี่
image

สั่ง Online ผ่าน Shopee คลิกที่นี่
image

สั่งซื้อทาง LINE
(ส่งถึงบ้านฟรีเมื่อซื้อครบ 1,000 บาท)

ติดต่อเนสท์เล่ใน วัน-เวลาทำการทาง LINE คลิก



image