ระบบประสาทและสมอง

ดูแลระบบประสาทและสมอง

สมองเป็นอวัยวะสำคัญ เมื่ออายุมากขึ้นสมองก็เสื่อมลงเช่นเดียวกับร่างกายส่วนอื่นๆ ทำให้การทำงานผิดปกติ เช่น มีอาการหลงลืมเป็นครั้งคราว แต่ยังไม่ถือว่าเป็นอาการสมองเสื่อม

ผู้สูงอายุที่มีอาการสมองเสื่อม มักเป็นผลจากโรคอื่นเช่น อัลไซเมอร์ การติดเชื้อในสมอง โรคหลอดเลือดสมอง หรือการขาดสารอาหารบางชนิด ซึ่งนอกจากจะมีอาการหลงลืมแล้ว ยังมีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่นนึกคำพูดไม่ออก หลงทาง บุคลิกภาพเปลี่ยนจนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ จากการศึกษาผู้สูงอายุไทย พบว่าเป็นโรคสมองเสื่อมร้อยละ 3.4 โดยอัตราการเกิดโรคเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น จากร้อยละ1 ในช่วงอายุ 60-69 ปี และสูงถึง 1 ใน 3 ในกลุ่มอายุ 90 ปีขึ้นไป

คำแนะนำ 10 ข้อ ดูแลป้องกันภาวะสมองเสื่อม

1. มีผลวิจัยพบว่า ภาวะขาดสารอาหารมีความสัมพันธ์กันกับภาวะสมองเสื่อม

ดังนั้นผู้สูงอายุจึงควรรับประทานอาหารให้ครบหมู่ เนื่องจากการได้รับพลังงานและสารอาหารครบถ้วนตามความต้องการของร่างกายเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการมีสุขภาพที่ดี และคงการทำงานของอวัยวะต่างๆให้เป็นปกติ รวมทั้งสมองด้วย

2. เลือกรับประทานอาหารที่ช่วยควบคุมน้ำหนัก

การคุมน้ำตาลและไขมันในเลือด ลดความเสี่ยงไขมันอุดตันในหลอดเลือดที่อาจนำไปสู่เส้นเลือดสมองตีบได้ โดยเลือกธัญพืช ผักผลไม้ ที่มีใยอาหารสูง และไม่หวานจัด เลือกกินโปรตีนคุณภาพดีเช่น ปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ นม หรือ โปรตีนจากนม

หลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลสูง เลือกน้ำมันที่เป็นแหล่งไขมันไม่อิ่มตัวที่ดี เช่นน้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนล่า ถั่วเมล็ด อโวคาโด หลีกเลี่ยงการเติมน้ำตาล การใช้เกลือหรือใช้เครื่องปรุงรสเค็ม ในการปรุงอาหาร

3. เสริมสารอาหารสำหรับสมองและระบบประสาท

สารอาหารบางชนิด มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของสมองและระบบประสาท การรับประทานอาหารที่เป็นแหล่งของสารอาหารเหล่านี้ หรือ ผลิตภัณฑ์ที่เสริมสารอาหารเหล่านี้ อาจมีส่วนช่วยป้องกันภาวะสมองเสื่อมได้ เช่น

โคลีน

มีความสำคัญกับการทำงานของระบบประสาท เพราะเป็นส่วนประกอบสำคัญของโครงสร้างเยื่อหุ้มระบบประสาท Sphingomyelin และเป็นโครงสร้างของสารสื่อประสาท Acetylcholine ที่เกี่ยวข้องกับความจำและการควบคุมกล้ามเนื้อ แหล่งของโคลีน ได้แก่ ตับวัว ไข่ไก่ จมูกข้าวสาลี ถั่วเหลือง ปริมาณที่แนะนำให้ผู้สูงอายุบริโภค 400-550 มก./วัน

วิตามินบี12

เป็นวิตามินละลายน้ำ มีความสำคัญต่อการทำงานของเอนไซม์หลายชนิด การขาดวิตามินบี12 พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ทำให้เกิดภาวะโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงโต และเป็นโรคเส้นประสาท แหล่งของวิตามินบี12 ได้แก่ ตับและเครื่องใน ไข่ ปลา เนยแข็ง และเนื้อสัตว์ต่างๆ ปริมาณที่แนะนำให้ผู้สูงอายุบริโภค 2.4 มคก./วัน

4. ทำกิจกรรมบริหารสมอง

เนื่องจากเซลล์ประสาทที่ถูกใช้งาน จะถูกกระตุ้นและเชื่อมต่อกับเซลล์ประสาทตัวอื่นๆ หากใช้บ่อยๆก็จะทำให้เซลล์ประสาทแข็งแรง ไม่เสื่อมสภาพง่ายๆ ในขณะที่เซลล์ประสาทที่ไม่ถูกใช้งาน จะเสื่อมสภาพและตายไป ดังนั้นเพื่อให้สมองเสื่อมช้าลง

แนะนำให้ผู้สูงอายุทำกิจกรรม หรือ ทำงานที่ต้องใช้ความคิดและสมาธิ อาจเล่นเกมส์แก้ไขปัญหาที่มีความซับซ้อน ทำงานอดิเรกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำสวน การทำงานฝีมือ เล่นดนตรี เป็นต้น

5. เข้าสังคม

การพูดคุย หรือทำความรู้จักกับคนใหม่ๆ จะช่วยลดความเสื่อมของสมองลงได้ เพราะการพูดคุยโต้ตอบกับคนอื่นก็เป็นการใช้สมองเช่นกัน ดังนั้นหากมีผู้สูงอายุที่บ้าน ไม่ควรปล่อยให้ท่านอยู่ลำพัง ดูแต่ทีวี ควรหมั่นไปพูดคุยด้วย นอกจากจะทำให้ท่านไม่เหงา มีอารมณ์ดีแล้ว ยังเป็นการช่วยกระตุ้นให้สมองทำงาน เป็นการลดความเสื่อมของสมองอีกทางด้วย

6. ฝึกทำสมาธิ

ทำกิจกรรมคลายเครียด เนื่องจากความเครียดจะทำให้อาการหลงลืมเป็นมากขึ้น

7. ออกกำลังกายเป็นประจำ

การออกกำลังกายที่ไม่หนัก นอกจากจะเป็นการทำให้ร่างกายกระฉับกระเฉงแข็งแรงแล้ว ร่างกายได้รับออกซิเจนไปเลี้ยงสมองอย่างเต็มที่ รวมทั้งช่วยให้ผ่อนคลายความเครียดด้วย เป็นการป้องกันความเสื่อมของสมองได้อีกทางหนึ่ง

8. งดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่

9. ระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะการเดินเข้าห้องน้ำให้ระมัดระวังการล้ม ควรมีผู้ดูแล

10. ตรวจสุขภาพประจำปี และติดตามการรักษาโรคประจำตัวเป็นระยะ หากเริ่มมีอาการหลงลืมมากขึ้นร่วมกับอาการอื่นๆ ให้รีบปรึกษาแพทย์

ไม่ใช่แค่ระบบประสาทและสมอง แต่ดูแลครบ 6 เหลี่ยมสุขภาพ ด้วยอาหารสูตรครบถ้วน

การจะแข็งแรง ไม่ใช่แค่ดูแลให้ได้รับสารอาหารที่ดีกับระบบประสาทและสมองอย่างเดียว แต่เมื่ออายุมากขึ้น คนส่วนใหญ่มักกินอาหารได้น้อยลง หรือกินอาหารซ้ำๆ ไม่หลากหลาย อาจทำให้ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน หรือไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ซึ่งการขาดสารอาหารสะสมนั้นในระยะสั้นอาจจะไม่ทันสังเกตเห็นอาการ แต่ในระยะยาวอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ เช่นอ่อนเพลีย การเคลื่อนไหวลำบากขึ้น ทั้งที่จริงๆแล้ว หากดูแลแต่เนิ่นๆ ก็จะช่วยให้แข็งแรงอย่างที่ในวัยนั้นๆควรจะเป็น ไม่ปล่อยให้ทรุดโทรมกว่าวัย

จึงมีแนวคิดจากความรู้โภชนาการสมัยใหม่ เป็นเคล็ดลับในการดูแลให้ครบ 6 เหลี่ยมสุขภาพให้แข็งแรงสมวัยดังนี้ค่ะ

ดูแลให้ครบ 6 เหลี่ยมสุขภาพ สารอาหารโภชนาการแนวใหม่

  1. ดูแลให้ได้รับพลังงานและโปรตีน เพียงพอต่อวันเพื่อซ่อมแซมร่างกาย
  2. ดูแลให้ได้รับแคลเซียมและวิตามินดีสูง เพื่อดูแลกระดูกและการเคลื่อนไหว
  3. ดูแลให้ได้รับใยอาหาร และจุลินทรีย์ชนิดดี เพื่อสร้างสมดุลระบบขับถ่าย
  4. ดูแลให้ได้รับวิตามินอีสูง เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
  5. ดูแลให้ได้รับไขมันชนิดดี ที่เรียกว่า MUFA เพื่อดูแลไขมันในเลือด
  6. ดูแลระบบประสาทสมอง ด้วยโคลีน และวิตามินบี 12

เปิดใจรับนวัตกรรมใหม่ ผู้สูงวัยดื่มผลิตภัณฑ์ที่ถูกหลักโภชนาการทุกวัน

ในการดูแลสุขภาพเมื่ออายุเพิ่มขึ้น ไม่ง่ายเลยที่จะทานอาหารให้ครบทั้ง 6 เหลี่ยมสุขภาพ ทางผู้เชี่ยวชาญจึงได้มีการคิดค้นอาหารเสริมสูตรครบถ้วน ที่พัฒนาสำหรับผู้สูงวัยโดยเฉพาะ ให้ได้รับสารอาหารครบ 6 เหลี่ยมสุขภาพใน 1 แก้ว ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ ที่ได้รับความนิยมในยุโรปและอเมริกา เพราะช่วยดูแลสุขภาพผู้สูงวัยให้แข็งแรงสมวัย ใช้ชีวิตหลังเกษียณได้อย่างมีความสุข ซึ่งผู้สูงวัยควรดูแลด้วยการดื่มเป็นประจำทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1 แก้ว

อะไรคือ อาหารสูตรครบถ้วน สำหรับผู้สูงวัย

อาหารสูตรครบถ้วน ไม่ใช่นมหรืออาหารเสริมทั่วไป แต่คือการนำเอาสารอาหารครบ 5 หมู่ โปรตีน-คาร์โบไฮเดรต-ไขมันชนิดดี-วิตามิน-แร่ธาตุ และกรดอะมิโนกว่า 30 ชนิด มารวมกันในรูปแบบผงเพื่อชงดื่มง่ายๆ ย่อยง่าย ดูดซึมง่าย และมีสัดส่วนสารอาหารตามหลักโภชนาการสำหรับผู้สูงวัย ดูแลทั้งอาหารหลัก และ วิตามิน, เกลือแร่ ครบ 6 เหลี่ยมสุขภาพ ในแก้วเดียว

1 แก้ว ให้พลังงาน 250 กิโลแคลลอรี่ หรือ เทียบเท่ากับอาหารประมาณครึ่งมื้อ สามารถดื่มเสริมมื้อปกติ วันละ 1-2 แก้ว หรือ ดื่มทดแทนอาหารที่กินน้อยลงได้ (มื้อไหนกินน้อย ก็ดื่มเสริม 1 แก้ว แทนครึ่งมื้อที่ขาดไปได้) อาหารสูตรครบถ้วนที่มีเวย์โปรตีน โปรตีนคุณภาพดีและพลังงานที่เพียงพอ ถือว่าเป็นอีกตัวเลือกที่ดี เพราะต่างจากอาหารเสริมที่มีโปรตีนน้อยและพลังงานน้อย เช่น รังนก หรือ ซุปไก่

ดื่มง่ายๆใน 1 แก้ว ด้วยอาหารสูตรครบถ้วนโดย Nestle Health Science

ที่เนสท์เล่ เรามีศูนย์วิจัยทางโภชนาการ พัฒนาสินค้าที่ตรงตามหลักโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ ดูแลครบทั้ง 6 เหลี่ยมสุขภาพใน 1 แก้ว ซึ่งเป็นอาหารครบ 5 หมู่ ในรูปแบบผง ชงง่าย ย่อยง่าย ดูดซึมง่าย รสชาติอร่อย เป็นสูตรเฉพาะที่คัดสรรวัตถุดิบที่ดีให้กับผู้บริโภค ตั้งแต่การเลือกใช้เวย์โปรตีน เป็นโปรตีนคุณภาพสูง,เลือกใช้ไขมันชนิดดี, เพิ่มจุลินทรีย์สุขภาพ, มีวิตามินและเกลือแร่ที่สำคัญ เช่น มีวิตามินอีสูง มีแคลเซียมและวิตามินดีสูง มีโคลีนและวิตามินบี 12 สามารถดื่มเสริมวันละ 1-2 แก้วได้ทุกวันอย่างปลอดภัย และได้รับการยอมรับและใช้จริงจากแพทย์ นักโภชนาการ ในโรงพยาบาลชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ ทำการผลิตจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ให้คุณมั่นใจได้ด้วยสินค้าคุณภาพจากเนสท์เล่

เริ่มดูแลสุขภาพแบบถูกหลักโภชนาการตั้งแต่วันนี้ เพื่อให้เรามีช่วงแห่งความสุขกับคนที่คุณรักในครอบครัวไปอีกนานๆ

อาหารสูตรครบถ้วน มีทั้งสูตรโปรไบโอติกส์
สูตรน้ำตาลต่ำ และ สูตรเสริมใยอาหาร


image


แอด LINE ลงทะเบียน
รับสินค้าตัวอย่างฟรี

สมัครสมาชิกทาง LINE เพื่อรับสินค้าตัวอย่าง คลิกเลย

image



วิธีการสั่งซื้อ

ซื้อจากร้านขายยาทั่วไป คลิกเพื่อดูรายชื่อร้าน

รายชื่อร้านขายยาที่ขาย


ซื้อกับ 7-11 ง่ายๆ 3 ช่องทาง

1.ซื้อผ่าน All Online ส่งได้ทั่วประเทศ
image
ซื้อผ่าน All Online คลิกเลย

2.สั่งซื้อล่วงหน้า พรีออเดอร์ได้ที่ 7-11 ทุกสาขา หรือ
โทร 1371 และ แจ้งรหัสสินค้ากับพนักงาน
รหัส 20590510 (โปรไบโอติกส์สูตรครบถ้วน)
รหัส 27927602 (น้ำตาลต่ำสูตรครบถ้วน)
ทำการนัดหมายรับสินค้ากับพนักงาน
รับสินค้าภายใน 3-5 วัน

3.ซื้อผ่านแอพลิเคชั่น 7-11
ส่งฟรี ภายใน 1 วัน กว่า 330 สาขาทั่วประเทศ

image

วิธีการซื้อผ่านแอพลิเคชั่น 7-11 คลิกเลย


ร้านขายยา ฟาสซิโน

ซุปเปอร์มาร์เกต และร้านขายยา ในห้างฯ เช่น เซ็นทรัล, ท๊อปส์, เดอะมอลล์, บิ๊กซี, โลตัส คลิกเพื่อดูสาขา

image

รายชื่อร้านที่ขาย


สั่ง Online ผ่าน Lazada คลิกที่นี่
image

สั่ง Online ผ่าน Shopee คลิกที่นี่
image

สั่ง Online ผ่าน Shop24 คลิกที่นี่
image

สั่งซื้อทาง LINE
(ส่งถึงบ้านฟรี จ่ายบัตรเครดิตหรือเก็บเงินปลายทางได้)

LINE Nestle Health Science Official คลิก



image

ข้อมูลอ้างอิง
1. สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล, ชัยยศ คุณานุสนธ์, วิพุธ พูลเจริญ และไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล (2542) ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุไทย สถาบันวิจัยสาธารณสุขไทย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติและสำคัญนโยบายและแผนสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข กรุงเทพฯ
2. Donald G W. and John M S., Brain function in the elderly: role of vitamin B12 and folate. British Medical Bulletin 1999; 55(3): 669-682
3. E H Reynolds. Folic acid, ageing, depression, and dementia. BMJ 2002 Jun 22; 324(7352): 1512-1515
4. ผศ.นพ.รุ่งนิรันดร์ ประดิษฐสุวรรณ. ทำอย่างไร...ห่างไกลสมองเสื่อม ในเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล (http://www.si.mahidol.ac.th/project/geriatrics/knowledge_article/knowledge_healthy_7_001.html)
5. แพทย์หญิงชโลบล เฉลิมศรี, รองศาสตราจารย์นายแพทย์วีรศักดิ์ เมืองไพศาล ภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุ ในหนังสือการจัดการภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุ โดยสมาคมพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1 พฤศจิกายน 2557 บรรณาธิการ วีรศักดิ์ เมืองไพศาล โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์ กรุงเทพฯ

คือ