รู้หรือไม่! กล้ามเนื้อคนเรา สลาย-สร้างตลอดเวลา! | Nestlé Health Science

“มวลกล้ามเนื้อ” กระจกสะท้อนสุขภาพของคุณ


จากงานวิจัยใหม่ๆ บ่งชี้ว่า สุขภาพร่างกายกับกล้ามเนื้อนั้นสัมพันธ์กันเป็นอย่างยิ่ง เพราะโปรตีนและพลังงานที่เรากินเข้าไป จะช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอทุกวัน



แต่คุณรู้ไหมว่า กล้ามเนื้อในร่างกายคนเรามีการสลาย-สร้างอยู่ตลอดเวลา



โปรตีนหรือกล้ามเนื้อในร่างกายคนเรา มีการสลายและสร้างใหม่ตลอดเวลา 3%-4% ต่อวัน แต่ละบริเวณจะมีการสลายที่ต่างกันไป เช่น โปรตีนในเซลล์ลำไส้ จะมีการสลาย 30%-40% ทุกวัน จึงมีการสร้างใหม่เกือบทั้งหมดในรอบ 3 วัน และในส่วนกล้ามเนื้อ มีการสลายและสร้างใหม่เกือบทั้งหมดในรอบ 100 วัน (ประมาณ 3 เดือน)




กล้ามเนื้อแขนและขาที่แข็งแรง ช่วยให้เราเดินเหินได้ดี ใช้ชีวิตปกติได้โดยไม่พลาดช่วงเวลาแห่งความสุขในครอบครัว การดูแลด้วยอาหารให้ถูกวิธีจึงเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างกล้ามเนื้อทดแทนที่สลายไปในทุกวัน เพราะหากปล่อยปละละเลย ในระยะสั้นอาจไม่สังเกตเห็นอาการอะไร แต่ในระยะยาวมวลกล้ามเนื้อจะลดลง บางรายจะผอมลง กล้ามเนื้อแขนขาเล็กลง หรือบางรายแม้น้ำหนักตัวมากก็อย่านิ่งนอนใจ เพราะอาจมีไขมันมากแต่กล้ามเนื้อน้อย เนื้อจะเหลวๆไม่เฟิร์ม นานวันเข้าจะมีอาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลียง่าย กล้ามเนื้ออ่อนแรง





วัย 60+ เหนื่อยง่าย อย่าเข้าใจว่าเป็นเรื่องปกติ


อาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นแค่อาการปกติของผู้สูงวัย ทั้งที่ความจริงแล้ว การศึกษาทางการแพทย์และโภชนาการใหม่ๆ พบว่า หากดูแลตั้งแต่อายุ 60+ เราอาจจะชะลออาการบางอย่างได้ เพื่อให้แข็งแรงสมวัย ไม่ทรุดโทรมกว่าวัย และมีความสุขทำสิ่งที่ตัวเองรักไปอีกนานๆ



งานวิจัยพบว่า ถึงแม้เราจะมีสุขภาพปกติ แต่มวลกล้ามเนื้อก็จะลดลงเรื่อยๆ คล้ายกับมวลกระดูกที่ลดลง และหากยิ่งไม่ดูแลหรือมีโรคบางอย่าง เช่น เบาหวาน ความดัน จะยิ่งทำให้มีความเสี่ยงที่มวลกล้ามเนื้อจะลดต่ำเร็วกว่าคนอื่นๆ ดังนั้น การดูแลด้วยอาหารที่ถูกหลักโภชนาการสมัยใหม่ จะสามารถช่วยชะลอการลดลงนี้ได้เป็นอย่างดี





โปรตีน ฮีโร่คนสำคัญ ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง



นอกจากกล้ามเนื้อ โปรตีนยังเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างภูมิคุ้มกัน ฮอร์โมน เอนไซม์ต่างๆ การขาดสารอาหารโดยไม่รู้ตัวนี้ จึงอาจส่งผลต่อสุขภาพโดยรวม เช่น ภูมิคุ้มกันลด ป่วยง่าย แผลหายช้าลง ผิวพรรณแห้งคัน เคลื่อนไหวลำบากไม่เหมือนที่เคย ดังนั้นหากมวลกล้ามเนื้อลดเร็วกว่าที่ควรจะเป็น จึงเป็นเหมือนกระจกสะท้อนสุขภาพร่างกายของเรา





ถึงเวลาดูแล และชะลอไม่ให้มวลกล้ามเนื้อลดลงเร็วกว่าที่ควร



การออกกำลังกายสม่ำเสมอ ต้องทำควรบคู่กับการกินอาหารที่ถูกวิธีดังนี้



1. โปรตีนต่อวัน ต้องเพียงพอ


สำหรับผู้ที่สุขภาพปกติควรกินโปรตีนประมาณ 1 กรัม : น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม : ต่อ 1วัน เช่น หากเราน้ำหนัก 55 กิโลกรัม ก็ควรกินโปรตีน 55 กรัมต่อวันค่ะ

(ประมาณโปรตีน: ไข่ขาว 1 ฟอง ให้โปรตีนประมาณ 3.5 กรัม, เนื้อ หมู ไก่ ปลา 100 กรัม ให้โปรตีนประมาณ 20-23 กรัม)



2. แบ่งกินโปรตีน 3 มื้อให้เท่ากัน


เพราะกล้ามเนื้อสลายและสร้างตลอดเวลา การแบ่งกินโปรตีนให้เท่ากัน 3 มื้อจะดีกว่าเน้นกินโปรตีนแค่ 1-2 มื้อ เพราะถึงกินเยอะใน 1 มื้อแต่ร่างกายจะดูดซึมไปใช้ได้จำกัด การแบ่งกิน 3 มื้อจึงสำคัญ

แต่ปกติแล้ว ช่วงเช้าเราจะกินน้อย กินไม่ลง ทั้งๆที่ท้องว่างไม่ได้รับโปรตีนมาทั้งคืน จึงพบว่าช่วงเช้านี่แหละเป็นช่วงที่คนเราขาดโปรตีนในการสร้างกล้ามเนื้อ การเสริมโปรตีนในตอนเช้าจึงสำคัญ



3. เลือกกินโปรตีนที่มีคุณภาพสูง


เมื่อกินอาหารได้น้อยลง เราจึงควรกินโปรตีนที่ร่างกายดูดซึมเอาสร้างกล้ามเนื้อได้ดีที่สุด ซึ่งโภชนาการสมัยใหม่พบว่า เวย์โปรตีน มีคุณภาพดีที่สุดในการสร้างกล้ามเนื้อ แถมย่อยง่าย ดูดซึมง่าย มีกรดอะมิโนจำเป็นครบทั้ง 8 ชนิด และมีกรดอะมิโนลิวซีนที่ช่วยกระตุ้นการสร้างกล้ามเนื้อเข้มข้นที่สุด แต่ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่พัฒนามาเพื่อผู้สูงอายุโดยเฉพาะ เพื่อให้ได้รับปริมาณโปรตีนและสารอาหารที่สมดุลสำหรับผู้สูงวัย ไม่แนะนำเวย์โปรตีนที่ไม่ได้ออกแบบเพื่อผู้สูงอายุ เพราะอาจมีสารอาหารบางอย่างเพื่อให้พลังงานสูงกับคนออกกำลังกาย แต่ไม่เหมาะกับผู้สูงวัย (น้ำตาลสูง-เสี่ยงเบาหวาน , อิเลคโตรไลท์สูง-เสี่ยงโรคหัวใจ)





ไม่ใช่แค่โปรตีน แต่ดูแลสุขภาพให้ครบ 6 เหลี่ยมสุขภาพ


นอกจากโปรตีนแล้ว เมื่ออายุมากขึ้น คนส่วนใหญ่มักกินอาหารได้น้อยลง หรือกินอาหารซ้ำๆ ไม่หลากหลาย อาจทำให้ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน หรือไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จึงมีแนวคิดจากความรู้โภชนาการสมัยใหม่ เป็นเคล็ดลับในการดูแลให้ครบ 6 เหลี่ยมสุขภาพให้แข็งแรงสมวัยดังนี้ค่ะ



ดูแลให้ครบ 6 เหลี่ยมสุขภาพ สารอาหารโภชนาการแนวใหม่


1. ดูแลให้ได้รับพลังงานและโปรตีน เพียงพอต่อวันเพื่อซ่อมแซมร่างกาย

2. ดูแลให้ได้รับแคลเซียมและวิตามินดีสูง เพื่อดูแลกระดูกและการเคลื่อนไหว

3. ดูแลให้ได้รับใยอาหาร และจุลินทรีย์ชนิดดี เพื่อสร้างสมดุลระบบขับถ่าย

4. ดูแลให้ได้รับวิตามินอีสูง เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

5. ดูแลให้ได้รับไขมันชนิดดี ที่เรียกว่า MUFA เพื่อดูแลไขมันในเลือด

6. ดูแลระบบประสาทสมอง ด้วยโคลีน และวิตามินบี 12



เปิดใจรับนวัตกรรมใหม่ ผู้สูงวัยดื่มผลิตภัณฑ์ที่ถูกหลักโภชนาการทุกวัน


ในการดูแลสุขภาพเมื่ออายุเพิ่มขึ้น ไม่ง่ายเลยที่จะทานอาหารให้ครบทั้ง 6 เหลี่ยมสุขภาพ ทางผู้เชี่ยวชาญจึงได้มีการคิดค้นอาหารเสริมสูตรครบถ้วน ที่พัฒนาสำหรับผู้สูงวัยโดยเฉพาะ เป็นอาหารสูตรครบถ้วน 5 หมู่ ที่มีเวย์โปรตีนเป็นส่วนประกอบ ให้ได้รับสารอาหารครบ 6 เหลี่ยมสุขภาพใน 1 แก้ว ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ ที่ได้รับความนิยมในยุโรปและอเมริกา เพราะช่วยดูแลสุขภาพผู้สูงวัยให้แข็งแรงสมวัย ใช้ชีวิตหลังเกษียณได้อย่างมีความสุข ซึ่งผู้สูงวัยควรดูแลด้วยการดื่มเป็นประจำทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1 แก้ว เป็นอีกตัวเลือกที่ดี เพราะต่างจากอาหารเสริมที่มีโปรตีนน้อยกลุ่ม รังนก หรือ ซุปไก่





อาหารสูตรครบถ้วนนี้ ไม่ใช่นมนะคะ แต่เป็นการพัฒนานำเอาอาหารครบ 5 หมู่ วิตามิน แร่ธาตุ และกรดอะมิโนกว่า 30 ชนิด มารวมกันในรูปแบบผงเพื่อชงดื่ม เพื่อให้ได้สารอาหารที่ครบถ้วนและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายผู้สูงวัยในแต่ละวัน



ดื่มง่ายๆใน 1 แก้ว ด้วยอาหารสูตรครบถ้วนโดย Nestle Health Science


ที่เนสท์เล่ เรามีศูนย์วิจัยทางโภชนาการ พัฒนาสินค้าที่ตรงตามหลักโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ ดูแลครบทั้ง 6 เหลี่ยมสุขภาพใน 1 แก้ว ซึ่งเป็นอาหารครบ 5 หมู่ ในรูปแบบผง ชงง่าย ย่อยง่าย ดูดซึมง่าย รสชาติอร่อย เป็นสูตรเฉพาะที่คัดสรรวัตถุดิบที่ดีให้กับผู้บริโภค ตั้งแต่การเลือกใช้เวย์โปรตีน เป็นโปรตีนคุณภาพสูง, เลือกใช้ไขมันชนิดดี, เพิ่มจุลินทรีย์สุขภาพ, มีวิตามินและเกลือแร่ที่สำคัญ เช่น มีวิตามินอีสูง มีแคลเซียมและวิตามินดีสูง มีโคลีนและวิตามินบี 12 สามารถดื่มเสริมวันละ 1-2 แก้วได้ทุกวันอย่างปลอดภัย และได้รับการยอมรับและใช้จริงจากแพทย์ นักโภชนาการ ในโรงพยาบาลชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ ทำการผลิตจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ให้คุณมั่นใจได้ด้วยสินค้าคุณภาพจากเนสท์เล่



เริ่มดูแลสุขภาพแบบถูกหลักโภชนาการตั้งแต่วันนี้ เพื่อให้เรามีช่วงแห่งความสุขกับคนที่คุณรักในครอบครัวไปอีกนานๆ




อาหารสูตรครบถ้วน มีทั้งสูตรโปรไบโอติกส์
สูตรน้ำตาลต่ำ และ สูตรเสริมใยอาหาร


image


แอด LINE ลงทะเบียน
รับสินค้าตัวอย่างฟรี

สมัครสมาชิกทาง LINE เพื่อรับสินค้าตัวอย่าง คลิกเลย

image



วิธีการสั่งซื้อ

ซื้อจากร้านขายยาทั่วไป คลิกเพื่อดูรายชื่อร้าน

รายชื่อร้านขายยาที่ขาย


ซื้อกับ 7-11 ง่ายๆ 3 ช่องทาง

1.ซื้อผ่าน All Online ส่งได้ทั่วประเทศ
image
ซื้อผ่าน All Online คลิกเลย

2.สั่งซื้อล่วงหน้า พรีออเดอร์ได้ที่ 7-11 ทุกสาขา หรือ
โทร 1371 และ แจ้งรหัสสินค้ากับพนักงาน
รหัส 20590510 (โปรไบโอติกส์สูตรครบถ้วน)
รหัส 27927602 (น้ำตาลต่ำสูตรครบถ้วน)
ทำการนัดหมายรับสินค้ากับพนักงาน
รับสินค้าภายใน 3-5 วัน

3.ซื้อผ่านแอพลิเคชั่น 7-11
ส่งฟรี ภายใน 1 วัน กว่า 330 สาขาทั่วประเทศ

image

วิธีการซื้อผ่านแอพลิเคชั่น 7-11 คลิกเลย


ร้านขายยา ฟาสซิโน

ซุปเปอร์มาร์เกต และร้านขายยา ในห้างฯ เช่น เซ็นทรัล, ท๊อปส์, เดอะมอลล์, บิ๊กซี, โลตัส คลิกเพื่อดูสาขา

image

รายชื่อร้านที่ขาย


สั่ง Online ผ่าน Lazada คลิกที่นี่
image

สั่ง Online ผ่าน Shopee คลิกที่นี่
image

สั่ง Online ผ่าน Shop24 คลิกที่นี่
image

สั่งซื้อทาง LINE
(ส่งถึงบ้านฟรี จ่ายบัตรเครดิตหรือเก็บเงินปลายทางได้)

LINE Nestle Health Science Official คลิก



image

ข้อมูลอ้างอิง

1. Pennings B. PhD thesis: Postprandial muscle protein synthesis in the elderly. 2013. Retrieved August 24, 2014, from https://digitalarchive.maastrichtuniversity.nl/fedora/get/guid:1eacd19b-df59- 418a-86f9-f01719b9315f/ASSET1
2. Thomas DR. Loss of skeletal muscle mass in aging: Examining the relationship of starvation, sarcopenia and cachexia. Clin Nutr. 2007;26,389–399.
3. Evans W. Functional and Metabolic Consequences of Sarcopenia. J. Nutr. 1997;127:998S–1003S.
4. Zamboni M, et al. Sarcopenic obesity: a new category of obesity in the elderly. Nutr Metab Cardiovasc Dis. 2008;18(5):388-95.
5. Roubenoff R. Sarcopenia and its implications for the elderly. Eur J Clin Nutr. 2000;54 Suppl 3:S40-7.
6. Schrager MA, et al. Sarcopenic obesity and inflammation in the InCHIANTI study. J Appl Physiol. 2007;102(3):919-25.
7. Institute of Medicine. Dietary Reference Intakes for Energy, Carbohydrate. Fibre, Fat, Fatty Acids, Cholesterol, Protein, and Amino Acids(2002/2005). 2005. Retrieved August 24, 2014, from https://www. iom.edu/Global/News%20Announcements/~/media/C5CD2DD7840544979A549EC47E56A02B.ashx
8. Bauer J, et al. Evidence-based recommendations for optimal dietary protein intake in older people: a position paper from the PROT-AGE Study Group. J Am Med Dir Assoc. 2013;14(8):542-59.
9. Mithal A, et al. Impact of nutrition on muscle mass, strength, and performance in older adults. Osteoporos Int. 2013;24(5):1555-66.
10. Deutz NE, et al. Protein intake and exercise for optimal muscle function with aging: Recommendations from the ESPEN Expert Group. Clin Nutr. 2014. DOI: https://dx.doi.org/10.1016/j. clnu.2014.04.007
11. Morley JE, et al. Nutritional recommendations for the management of sarcopenia. J Am Med Dir Assoc. 2010;11(6):391-6.
12. Nordic Council of Ministers. Nordic Nutrition Recommendations 2012: Integrating nutrition and physical activity. 2014
13. Kant AK and Schatzkin A. Relation of age and self-reported chronic medical condition status with dietary nutrient intake in the US population. J Am Coll Nutr. 1999;18(1):69-76.
14. Smithers G, et al. The National Diet and Nutrition Survey: people aged 65 years and over. Nutrition & Food Science. 1998;98(3):133–134.
15. Allison SP. Hospital food as treatment. Clin Nutr. 2003;22(2):113-4.
16. Walzem RL, et al. Whey components: millennia of evolution create functionalities for mammalian nutrition: what we know and what we may be overlooking. Crit Rev Food Sci Nutr. 2002;42(4):353-75.
17. Arnal MA, et al. Protein turnover modifications induced by the protein feeding pattern still persist after the end of the diets. Am J Physiol Endocrinol Metab. 2000;278(5):E902-9.
18. Tang JE, et al. Ingestion of whey hydrolysate, casein, or soy protein isolate: effects on mixed muscle protein synthesis at rest and following resistance exercise in young men. J Appl Physiol. 2009;107(3):987-92.
19. Chitapanarux T, et al. Open-labeled pilot study of cysteine-rich whey protein isolate supplementation for nonalcoholic steatohepatitis patients. J Gastroenterol Hepatol. 2009;24(6):1045-50.
20. Paddon-Jones D and Rasmussen BB. Dietary protein recommendations and the prevention of sarcopenia: Protein, amino acid metabolism and therapy. Curr Opin Clin Nutr Metab Care. 2009;12(1):86–90.
21. Bollwein et al. Distribution but not amount of protein intake is associated with frailty: a crosssectional investigation in the region of Nürnberg. Nutr J. 2013. doi:10.1186/1475-2891-12-109 https://www.nutritionj.com/content/12/1/109
22. El-Kalla FSE, et al. The effect of a late-evening protein-containing snack on nitrogen balance in cirrhotic patients. Tanta Medical Journal. 2014;42(2): 47-52.
23. Biolo G, et al. An abundant supply of amino acids enhances the metabolic effect of exercise on muscle protein. Am J Physiol. 1997;273(1 Pt 1):E122-9.
24. Demling, Robert H. 2009. Nutrition, anabolism, and the wound healing process: an overview. ePlasty 9.
25. Ian Janssen, et al. Skeletal muscle mass and distribution in 468 men and women aged 18–88 yr. Journal of Applied Physiology Jul 2000, 89 (1) 81-88;
26. Chailurkit L, et al. Regional variation and determinants of vitamin D status in sunshine-abundant Thailand. BMC Public Health 2011;11:853.
27. Plummer S, et al. Clostridium difficile pilot study: effects of probiotic supplementation on the incidence of C. difficile diarrhoea. Int Microbiol. 2004; 7: 59-62.
28. Sarker, S., et al. Lactobacillus paracasei strain ST11 has no effect on rotavirus but ameliorates the outcome of nonrotavirus diarrhea in children from Bangladesh. Pediatrics; 2005,116:e221-8.
29. Meydani, S., et al. Vitamin E supplementation and in vivo immune response in healthy elderly subjects. A randomized controlled trial. Journal of the American Medical Association; 1997, 277: 1380-1386.
30. Penny M Kris-Etherton, et al. High–monounsaturated fatty acid diets lower both plasma cholesterol and triacylglycerol concentrations1,2,3
31. Fu AL, et al. Alternative therapy of Alzheimer's disease via supplementation with choline acetyltransferase. Neurosci Lett. 2004 Sep 30;368(3):258-62.
32. https://www.webmd.com/alzheimers/news/20101018/vitamin-b12-linked-to-lower-alzheimers-risk
33. https://gamapserver.who.int/gho/interactive_charts/mbd/hale_1/atlas.html

คือ